top of page
Picture3.jpg

ร่วมกันสร้างตารามหาสถูป

ตารามหาสถูป

สถานที่แห่งการภาวนา เพื่อพัฒนาโพธิจิต ด้วยหัวใจโพธิสัตว์

ณ เสถียรธรรมสถาน หุบเขาโพธิสัตว์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

 

เปิดใช้งานวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568

 

ความก้าวหน้าในการก่อสร้าง

‘พระอารยตารามหาโพธิสัตว์’ และ ‘ตารามหาสถูป’

ณ เสถียรธรรมสถาน หุบเขาโพธิสัตว์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

ARIYATARA MAHASTUPA

Sathira Dhammasathan, Bodhisattva Valley
Kangachan, Phetechaburi

แนวคิดและแนวทางการออกแบบ ตารามหาสถูป
ณ เสถียรธรรมสถาน หุบเขาโพธิสัตว์ อ. แก่งกระจาน จ. เพรชบุรี


ที่มา - ก่อนคืนลมหายใจสุดท้ายของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต  ท่านได้ฝากพันธกิจสำคัญให้ลูกหลานและลูกศิษย์ได้สานต่อ

จนสำเร็จคือการออกแบบและก่อสร้างเจดีย์หรือสถูปองค์อารยตารามหาโพธิสัตว์ 
เพื่อแสดงออกถึงความเคารพศรัทธาต่อพระอารยตาราฯ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าและ

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายด้านความกรุณาในสายวัชรยาน (ศาสนพุทธนิกายมหายานในธิเบต)

Untitled3.png

แนวคิด - รูปแบบสถาปัตยกรรม (อาคารอเนกประสงค์)  ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมของศาสนาพุทธตันตระหรือวัชรยานในทิเบต
 

S__126738449_0.jpg

วิธีการ - การออกแบบสถูปหรือเจดีย์ ในลักษณะที่เรียกว่า อุเทสิกะเจดีย์
ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1.ยอดเจดีย์ - ส่วนบนสุดของเจดีย์ เหนือเศียรของพระอารยตารามหาโพธิสัตว์เป็นบัลลังก์ประดิษฐานของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
ที่อุบัติขึ้นในภัทรกัลป์นี้
2.องค์เจดีย์ - รูปหล่อสำริดองค์พระอารยตารามหาโพธิสัตว์ขนาดใหญ่ (ที่สุดในโลก) หน้าตักกว้าง 12 เมตร สูง 21 เมตร น้ำหนักกว่า 100 ตัน
3.ฐานเจดีย์ - ฐานที่อยู่ด้านล่างสุดของเจดีย์เป็นอาคารอเนกประสงค์   เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านต่างๆ ของสังฆะทุพธสาวิกาและพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธา

Untitled-1.png

แนวความคิดการออกแบบอาคารอเนกประสงค์( ฐานเจดีย์ )
การออกแบบอาคารอเนกประสงค์ เป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เน้นการเข้าถึงแก่นหลักธรรมคำสอน โดยการลดทอนรายละเอียดการประดับประดาที่เกินความจำเป็นให้เหลือแต่แก่นสำคัญอันเป็นหัวใจของงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโครงสร้าง
จุดประสงค์เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมของสังฆะที่เน้นการเจริญสติภาวนาและสวดมนต์ตลอดจนทุกกิจกรรมของพุทธศาสนิกชนที่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์และบรรลุธรรม ด้วยการออกแบบโดยใช้ภาษาทางสถาปัตยกรรมผ่านกุญแจสำคัญคือตัวเลขที่เป็นข้อมูลและนัยยะทางธรรมมานำเสนอเพื่อสร้างประสบการณ์ของการรับรู้สู่สุนทรียะทางสถาปัตยกรรมจนรู้สึกและสัมผัสได้

Untitled-2.png

ตัวอย่างตัวเลขที่เป็นกุญแจสำคัญของข้อมูลและนัยยะทางธรรม
32  : อาการ 32 ของมนุษย์
        ลานสักการะบนดาดฟ้าองค์พระอารยตารามหาโพธิสัตว์ ขนาด 32x32 เมตร
21  :  ตารามหาโพธิสัตว์ 21 ปาง
        ขอบเขตอาคารอเนกประสงค์ที่เป็นฐานด้านล่างขององค์เจดีย์ ขนาด 21x21 เมตร
88 : มือเพื่อการฉุดช่วยจำนวนเอนกอนันต์ (อินฟินิตี้ ∞ ) ขององค์ตาราที่ยื่นออกไปช่วยสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากให้รอดพ้นจากหายนะ 8            ทั้ง 8 ทิศ  หายนะ 8 ได้แก่  1.ความทิฐิลำพอง  2.ความเขลา  3.ความอาฆาตพยาบาท  4.ความอิจฉาริษยา  5.ความเห็นผิด  6.ความโลภ
        7.ความยึดติด  8.ความเคลือบแคลงสงสัย
        จำนวนคานคสล. ทั้ง 88 คานยื่นออกไปทุกทิศทางโดยรอบอาคาร ทั้งนี้เพื่อเป็นกันสาดให้ร่มเงาและคานรองรับลานสักการะที่อยู่ด้านบน
12  :  ปัจจยาการ 12 หรือ ปฏิจจสมุปบาท คือห่วงโซ่การเกิดร่วมกันของธรรม ประกอบไปด้วยองค์ธรรม 12 ประการ 
        เป็นหลักธรรมคำสอนที่แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เน้นให้ทั้งสังฆะและพุทธศาสนิกชนได้เห็นเป็นประจำ
        เพราะการเห็นปฏิจจสมุปบาทเป็นการเห็นอริยสัจที่ครบเรียกว่า "ดวงดาเห็นญาณ" 
        ปฏิจจสมุปบาทหรือปัจจยาการ 12 ประกอบไปด้วย  1. อวิชา  2. สังขาร  3. วิญญาณ  4. นามรูป  5. สฬายตนะ  6. ผัสสะ  7. เวทนา
        8. ตัณหา  9. อุปาทาน  10. ภพ  11. ชาติ  12. ชรามรณะ
        คือเสา 12 ต้นที่เป็นโครงสร้างหลักด้านล่างเพื่อรองรับองค์พระอารยตารามหาโพธิสัตว์สำริด ที่มีน้ำหนักกว่า 100 ตัน
        ให้ตั้งตะหง่านอย่างมั่นคง
84 : คำสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์
        เรียกว่า "พระไตรปิฏก"
        ผนังช่องลมทั้งสี่ด้านของอาคารจำนวน 84 ช่อง ที่แต่ละช่องบรรจุช่องลมจำนวนมาก เพื่อกันความร้อนและระบายอากาศ
        เป็นการสร้างสมดุลของอากาศให้กับพื้นที่ใช้งานภายในอาคารจนสถานที่มีความสัปปายะพอเหมาะพอควรแก่กิจกรรม
        ของสังฆะและพุทธศาสนิกชน
6.8 : อายุสุดท้ายของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ก่อนคืนลมหายใจสู่ธรรมชาติ
         6.8 เมตร เป็นความสูงทั่วไปภายในอาคารเอนกประสงค์ (ฐานของตารามหาสถูป)

ความก้าวหน้าในการสร้าง
ตารามหาสถูป

Picture1.jpg

31 ตุลาคม 2562

พิธีพุทธาภิเษกองค์ต้นแบบและพิธีเททองหล่อพระอารยตารามหาโพธิสัตว์  ณ เสถียรธรรมสถาน กรุงเทพฯ
 

31 ตุลาคม 2563

พิธีอัญเชิญพระพักตร์ ห้องพระหฤทัย และพระหัตถ์ซ้าย ประดิษฐาน ณ เสถียรธรรมสถาน หุบเขาโพธิสัตว์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี  

Picture2.jpg
Picture4.jpg

26 มิถุนายน 2564

อัญเชิญพระพุทธเจ้า 5 พระองค์พร้อมฐานบัว

28 ตุลาคม 2564

อัญเชิญพระหัตถ์ขวา มีความหมายถึง  ความกรุณาในการฉุดช่วยอย่างรวดเร็ว

Picture5.jpg
Picture6.jpg

21 กุมภาพันธ์ 2565

วางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารตารามหาสถูป

16 กันยายน 2566

งานปฐมฤกษ์การสร้าง ‘ตารามหาสถูป’ ด้วย ‘ดินหนึ่งก้อนกับใจหนึ่งดวง’ ณ เสถียรธรรมสถาน หุบเขาโพธิสัตว์

Picture12.jpg
Picture11.jpg

13 ตุลาคม 2566 

วันโปรยดินและอัญมณีจากการอธิษฐานจิตของผู้มีจิตศรัทธา
 

16 ตุลาคม 2566

เทปูนฐานราก ‘ตารามหาสถูป’ เสร็จภายใน 1 วัน

DJI_0803.jpg
Picture9.jpg
Picture8.jpg

31 ธันวาคม 2566 

งานโครงสร้างแล้วเสร็จ (ฐานราก เสา และคาน)
 

Picture10.jpg

29 เมษายน 2567 

เทปูนพื้นดาดฟ้า ตารามหาสถูป
 

4 มิถุนายน 2567 

เรียงอิฐตาแบบ อาคารตารามหาสถูป

ร่วมบุญมหากุศลได้ที่นี่

773538-1e12330e.webp
773537-92119466.webp
bottom of page