top of page
11_edited.jpg

แรงบันดาลใจของท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

ทุกข์มีไว้ให้เห็น... ทุกข์ไม่มีไว้ให้เป็น...

2522 แม่ชีศันสนีย์ ในขณะนั้นเป็นหญิงสาววัย 27 ปีที่ก้าวสู่จุดสูงสุดในอาชีพพิธีกร ประชาสัมพันธ์ นางงามและนางแบบ  ท่านได้พบกับมรสุมชีวิต ท่ามกลางความสับสนจากความทุกข์  ท่านเลือกทิ้งชื่อเสียง แสงสี และความงาม เพื่อแสวงหาความสุขที่แท้ที่เป็นหนทาง ‘พ้นทุกข์’

ท่านละจากชีวิตทางโลกที่ทุกข์เพราะความไม่รู้ (อวิชชา) และแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ตามรอยบาทพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ในช่วงแรกท่านจะเล่าเรียนปริยัติจนได้ที่หนึ่งในการสอบนักธรรมสนามหลวง แต่พระอุปัชฌาย์ได้เตือนสติว่า  "ถ้ายังทุกข์อยู่ก็สอบตก"

Picture2.jpg
Picture3.jpg

ใช้งานเพื่อเยียวยาความทุกข์

พ.ศ. 2529 เมื่อบวชได้เพียง 7 ปี ท่านได้สูญเสียพระอุปัชฌาย์ผู้เป็นดั่งผู้นำจิตวิญญาณ  จึงได้สร้าง ‘เสถียรธรรมสถาน’ เพื่อแสดงความกตัญูญูต่อครูบาอาจารย์และใช้งานเป็นฐานแห่งการภาวนา   ในครั้งนั้นท่านเริ่มเป็นที่รู้จักจากการนำธรรมมาช่วยเหลือสังคมด้วยการเปิด ‘บ้านสายสัมพันธ์’ บ้านพักฉุกเฉินให้เด็กและผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง  รวมทั้งการจัดอบรมธรรมะแก่เยาวชนนักเรียน นักมวย และบุคคลทั่วไป   

Picture1.jpg

ธรรมมาตา...มีธรรมเป็นแม่ มีแม่เป็นธรรม

ธรรมโฆษณา ‘ปฏิจจสมุปบาท’   

พ.ศ. 2532 ท่านได้ปวารณาตัวเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ณ สวนโมกขพลาราม ต่อมาท่านอาจารย์ฯ ได้มอบหมายให้อุบาสิกาคุณแม่รัญจวน อินทรกำแหง มาช่วยวางรากฐานหลักสูตร 'ศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา' ณ เสถียรธรรมสถาน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการสอน 'ปฏิจจสมุปบาท' ควบคู่ไปกับการฝึกจิตภาวนาด้วย 'อานาปานสติ ให้เป็น 'วิถีชีวิตแห่งสติ' สำหรับคนทุกเพศวัยมาจนถึงปัจจุบัน

ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ เป็นครูบาอาจารย์ที่ทำให้แม่ชีศันสนีย์ ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านเห็นถึงการเผยแผ่ธรรมแบบ ‘ธรรมโฆษณา’ โดยนำธรรมะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบเมื่อกว่า 2,500 ปีก่อนมาถ่ายทอดอย่างทรงพลังในยุคสมัยนั้น  

Picture4.jpg
Picture5.jpg

ธรรมศักดิ์สิทธิ์เพราะใช้แก้ปัญหาชีวิตได้จริง 

‘ธรรมโฆษณ์ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์’ เป็นหนึ่งในหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ หมวดที่ 1 ที่แม่ชีศันสนีย์แนะนำให้ลูกศิษย์ศึกษาและนำมาปฏิบัติเพื่อท้าทายว่า ‘ธรรมศักดิ์สิทธิ์เพราะใช้แก้ปัญหาชีวิตได้จริง’  และท่านได้นำมาขยายความในรูปแบบต่างๆ ที่ล้ำสมัยในยุคของท่าน ตามเจตนารมณ์ของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุที่ว่า “ธรรมโฆษณา..............”

ตลอดชีวิตทางธรรม ท่านเป็น 'ครู' ที่ไม่เคยหยุดที่จะฉุดช่วยด้วยกุศโลบายอันหลากหลาย โดยมี ‘เสถียรธรรมสถาน’ เป็น 'ชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างศานติตั้งแต่ปฏิสนธิจิตจนคืนชีวิตสู่ธรรมชาติ'  ให้ปัญญาที่ลัดสั้นสู่การพ้นทุกข์ได้ในปัจจุบันขณะ โครงการและกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกเสถียรธรรรมสถานจึงเกิดขึ้น เป็นหนึ่งในมรดกธรรมที่ท่านมอบไว้ให้ เป็น 'คำสอนที่คิดถึง' ที่ทำให้ท่านยังอยู่ในใจยังเปล่งประกายในงานแม้กายสังขารจะคืนสู่ธรรมชาติแล้ว

Picture6.jpg
Picture7.jpg

พ้นทุกข์เพราะใช้ ‘ธรรม ทำ งาน’ 

พ.ศ. 2532 ท่านได้พบท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเป็นครั้งแรก ในโอกาสที่ท่านพาเยาวชนอาสาสมัครไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยจากพายุเกย์   ในครั้งนั้นพระอาจารย์สง่า สุภโร (.................................) วัดชลประทานรังสฤษฎิ์ พระอารามหลวง  ได้พาท่านเข้ากราบนมัสการท่านอาจารย์ฯ  ณ สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี   ท่านอาจารย์ฯ ได้ไถ่ถามถึงงานที่ท่านทำและได้เมตตาให้คำสอนที่จุดประกายให้ท่านใช้เป็นแนวทาง ‘การทำงาน’ เพื่อ ‘พ้นทุกข์’ ... แนวทางทำดีที่ไม่ติดดี ตัวตนเล็ก งานใหญ่ ใจประเสริฐ

“การที่คุณได้พาชีวิตของพวกคุณมาถึงที่นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่รู้จักที่จะให้โอกาสตัวเอง การที่เราทำให้คนอื่นพ้นจากความทุกข์ยากนั้นเป็นหน้าที่อันพึงปฏิบัติ และต้องรู้จักช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ด้วย”

คำสอนที่ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุกล่าวแก่แม่ชีศันสนีย์ และอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากพายุเกย์ ใน พ.ศ. 2532

ศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา

ถ่ายทอดธรรมดุจแม่สู่ลูก หลังจากแม่ชีศันสนีย์ได้ปวารณาตัวเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ โดยนำ ‘การใช้ลมหายใจแห่งสติเป็นเครื่องมือ’ มาใช้ในงานด้านต่างๆ และดำริการเปิดโครงการ ‘ศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา’ ขึ้นที่เสถียรธรรมสถาน กรุงเทพมหานคร โดยท่านอาจารย์พุทธทาสได้อนุญาตให้คุณแม่รัญจวน (ศาสตราจารย์ คุณรัญจวน อินทรกำแหง) ศิษย์ฝ่ายสตรีมาเป็นที่ปรึกษาและวางหลักสูตร ณ เสถียรธรรมสถาน

อนุสาวรีย์มีชีวิต

สิ่งที่คนทั่วไปอาจสงสัยว่า...เหตุใดแม่ชีศันสนีย์ผู้ทันสมัยอยู่เสมอจึงใช้สื่อการสอนที่เขียนด้วยลายมือที่ดูโบราณอย่างนี้...นั่นเพราะ แผนภาพปฏิจจสมุปบาทนี้  เป็นสิ่งที่ทำให้ท่านระลึกถึงคุณแม่รัญจวน  การทำให้คนพ้นทุกข์ด้วยการรู้จัก ‘ปฏิจจสมุปบาท’ จึงเป็นดั่งการสืบสานหัวใจแม่ เป็นลูกสาวที่เป็น ‘อนุสาวรีย์มีชีวิต’ ของแม่นั่นเอง

ความกตัญญูเป็นคุณธรรมที่แม่ชีศันสนีย์ ส่งต่อให้ลูกศิษย์และลูกหลานในเสถียรธรรมสถาน  ด้วยการจัดอบรมหลักสูตร ศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติ ณ ธรรมศาลา แห่งนี้ มาตลอด 30 ปี ด้วยกองทุนเสถียรธรรมสถาน อย่างสม่ำเสมอทุกสุดสัปดาห์  และเมื่อวันที่ ..... เพียง....วันก่อนท่านคืนสู่ธรรมชาติ  ท่านได้ส่งมอบมรดกธรรมนี้เป็นภารกิจสำคัญของเสถียรธรรมสถานต่อไป    

ท่านเป็นแบบอย่างของความกตัญญูต่อพระธรรม ‘ปฏิจจสมุปบาท’ ที่ทำให้ท่าน ‘พ้นทุกข์’  และความกตัญญูต่อท่านอาจารย์พุทธทาสและคุณแม่รัญจวน โดยการพัฒนาเทคนิคการสอนให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อส่งต่อให้ทุกคนตรงหน้าของท่านได้รู้จัก ‘ปฏิจจสมุปบาท’ และ ‘คำสอนจากพระโอษฐ์’

จาก ‘ปฏิจจสมุปบาท’ สู่ ‘จ๊ะเอ๋...บ๊ายบาย’

เดิมท่านสอน ‘ปฏิจจสมุปบาท’ โดยเทคนิค ‘กระทบ กระเทือน กระแทก’ ต่อมาเมื่อท่านมีลูกศิษย์เป็นเด็ก เยาวชน และคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น ท่านเริ่มใช้เทคนิคที่เข้าถึงผู้ฟังง่ายขึ้นที่เรียกว่า ‘จ๊ะเอ๋...บ๊ายบาย’ เพื่อเร้าความสนใจไปสู่การสอนเชิงลึกเรื่อง ‘ปฏิจจสมุปบาท’   ทำให้มีคนรุ่นใหม่ที่พ้นทุกข์เพราะธรรมนี้และใช้ความชำนาญของตนในสหวิชาชีพสร้างสรรค์การสื่อสารธรรมในเทคนิคที่หลากหลายเพื่อส่งต่อมรดกธรรมเพื่อ ‘พ้นทุกข์’ ให้คนรุ่นต่อไป

bottom of page