‘ปฏิจจสมุปบาท’ บทสวดมนต์เพื่อพัฒนาปัญญา
ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร
‘ปฏิจจสมุปบาท’ เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแสดง ‘ปฐมพุทธภาสิตคาถา’ ไว้ในคราวตรัสรู้ แต่การสอนธรรมนี้แก่พระสงฆ์สาวกต้องอาศัยความพร้อมของผู้ฟัง ดังปรากฎเป็นบทสวดมนต์ ‘ปฏิจจสมุปาโท’ ที่มีความละเอียดลออยิ่ง
‘ปฏิจจสมุปบาท’ มีชื่อเต็มว่า ‘อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาโท’ ซึ่งแสดงถึงวงจรที่ทุกข์เกิดและทุกข์ดับอันเป็นธรรมชาติของจิต ซึ่งเกิดอยู่ทุกขณะลมหายใจ ซึ่งหากเราเข้าใจธรรมชาติของจิตเช่นนี้ และฝึกให้มีลมหายใจแห่งสติหรืออานาปานสติภาวนา จะทำให้รู้ทันสภาวธรรมขณะ กระทบ กระเทือน กระแทก จิตปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป
คัมภีร์วินัยปิฎก 1727 เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ กำลังทรงเสวยวิมุตติสุข และพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท ทั้งโดยอนุโลม (กระบวนการเกิดทุกข์) และโดยปฏิโลม (กระบวนการดับทุกข์) ตลอดเวลา 1 สัปดาห์ ครั้นสิ้นระยะเสวยวิมุตติสุข 7 สัปดาห์แล้ว เมื่อปรารภการที่จะทรงประกาศธรรมแก่ผู้อื่นต่อไป ทรงพระดำริว่า
“ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ สำหรับหมู่ประชา ผู้เริงรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัย ฐานะอันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท ; แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยากนักกล่าวคือ...นิพพาน” 1728
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
ในยุคสมัยของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ท่านใช้การเผยแผ่ธรรมะที่ลึกซึ้งต่างๆ ในรูปแบบของปาฐกถาหรือธรรมบรรยายโดยใช้ภาษาที่สื่อความเข้าใจง่าย แตกต่างจากธรรมเนียมการแสดงพระธรรมเทศนาแบบเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ทำให้เป็นที่สนใจของคนในสังคมบางเรื่องถึงกับสร้างกระแสเป็นที่กล่าวถึงทั้งด้านชื่นชมและวิพากษ์วิจารณ์
รูปแบบหนึ่งคือการเรียบเรียงหนังสือชุด ‘ธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส’ ได้พิมพ์เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา ที่ใช้ชื่อเช่นนี้ ปรารภเหตุว่าในปัจจุบันทุกสิ่งมักจะสำเร็จได้ด้วยการโฆษณา คนเชื่อโฆษณากันมาก การเผยแผ่ธรรมเฉยๆ อาจไม่สามารถกระตุ้นให้คนเกิดสนใจในธรรมะได้เท่ากับการต้อง “โฆษณาธรรม” กันเลยทีเดียว หนังสือชุด ธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส 5 หมวด จำนวน 82 เล่ม โดย หมวดที่ 1 ชุด จากพระโอษฐ์ เป็นเรื่องที่ค้นคว้าจากพระไตรปิฎก เฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ อริยสัจจากพระโอษฐ์(ต้น) อริยสัจจากพระโอษฐ์(ปลาย) ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ และ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ยังได้เรียบเรียงหนังสือที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นสำหรับบุคคลทั่วไป คือ ‘หลักปฏิบัติเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท’ โดยกล่าวว่า
“...ปฏิจจสมุปบาทในลักษณะอย่างนี้คือ ปฏิจจสมุปบาทที่่อยู่ในขอบเขตที่เราควบคุมได้ ปฏิบัติได้ มีสติถูกต้องป้องกันได้ ทันควันในขณะที่อารมณ์มากระทบ เป็นเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่มีประโยชน์ที่เป็นหลักของการปฏิบัติ ถ้าถามว่าปฏิบัติอย่างไร? ไม่มีคำตอบอย่างอื่นนอกจากว่ามีสติ เมื่ออารมณ์มากระทบ อย่าเผลอสติ อย่าเผลอให้เกิดอวิชชา ปรุงสังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ...
การสอนปฏิจจสมุปบาทโดยแม่ชีศันสนีย์
การสวดมนต์เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างปัญญาให้เกิดความเข้าเรื่องปฏิจจสมุปบาท แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้ออกแบบวิถีชีวิตของการปฏิบัติธรรมในหลักสูตร ‘ศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติ’ ให้มีการสวดมนต์ ‘ปฐมพุทธภาสิตคาถา’ และ ‘ปฏิจจสมุปาโท’ ก่อนที่ท่านจะมีการบรรยายธรรมเรื่อง ‘ปฏิจจสมุปบาท’ รวมทั้งเพื่อสร้างความมั่นใจให้บุคคลทั่วไปมีความเชื่อมั่นว่า ‘มนุษย์ทุกคนพ้นทุกข์ได้ด้วยการฝึกตน’ ในช่วงบรรยายธรรมท่านจึงสอดแทรกเรื่อง ‘ผู้เอาตัวรอดได้เพราะสังวรด้วยความรู้’ จากหนังสือธรรมโฆษณ์ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ และเรื่อง ‘การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย’ จากหนังสือธรรมโฆษณ์ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ร่วมด้วย
ปฏิจจสมุปบาท เพื่อการพ้นทุกข์ตั้งแต่เกิดจนตาย
แม่ชีศันสนีย์ ขยายการสอนปฏิจจสมุปบาทจากผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้ใหญ่ ไปสู่เด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา เด็กปฐมวัย วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนกระทั่งผู้สูงวัย และการเตรียมตัวตาย โดยเจาะไปที่ การเห็นทุกข์เพื่อพ้นทุกข์ ในวัยต่างๆ เพื่อให้ทุกข์นั้นเป็นประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติธรรมตามวัย โดยใช้เครือข่ายอาสาสมัครสหวิชาชีพพัฒนาเทคนิคต่างๆ ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของคนวัยต่างๆ ด้วยทักษะการเป็นนักประชาสัมพันธ์ของท่านและเป้าหมายคืองานเพื่อลดอัตตาตัวตน ท่านจึงเน้นการสอนแบบ ‘ทำของยากให้ง่าย’ เหมือน ‘ปรุงยาหม้อให้เป็นแคปซูล’ ทำให้ ‘ปฏิจจสมุปบาท’ และ ‘จ๊ะเอ๋...บ๊ายบาย’ เผยแพร่ไปในหลายรูปแบบ
ปฐมพุทธภาสิตคาถา
หันหะ มะยัง ปะฐะมะพุทธะภาสิตะคาถาโย ภะณามะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดคาถาปฐมพุทธภาษิตกันเถิด.
อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง,
เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ ;
คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง,
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างผู้ปลูกเรือน คือตัณหาผู้สร้างภพการเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป ;
คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ,
นี่แน่ะ นายช่างผู้ปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป ;
สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว ;
วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัซฌะคา.
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือถึงนิพพาน).
บทสวดมนต์ ปฏิจจสมุปปาทธัมมะ
(อิทัปปัจจยตา)
(หันทะ มะยัง ปะฏิจจะสะมุปปาทะธัมเมสุ อิทัปปัจจะยะตาทิธัมมะปาฐัง ภะณามะ เส)
กะตะโม จะ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ปฏิจจสมุปบาท, เป็นอย่างไรเล่า
(๑) ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
Top of Form
(๒) ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะภพเป็นปัจจัย, ชาติย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะภพเป็นปัจจัย, ชาติย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๓) อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย, ภพย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย, ภพย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๔) ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะตัณหาเป็นปัจจัย, อุปาทานย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะตัณหาเป็นปัจจัย, อุปาทานย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๕) เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๖) ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย, เวทนาย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย, เวทนาย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๗) สะฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย, ผัสสะย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, สฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย, ผัสสะย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๘) นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๙) วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย, นามรูปย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย, นามรูปย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๑๐) สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะสังขารเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะสังขารเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด, ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๑๑) อวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมมี
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา วะ สา ธาตุ
ธรรมธาตุนั้น, ย่อมตั้งอยู่แล้ว, นั่นเทียว
ธัมมัฏฐิตะตา
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธัมมะนิยามะตา
คือความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
อิทัปปัจจะยะตา
คือความที่เมื่อมีสิ้งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ, ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ, ซึ่งธรรมธาตุนั้น
อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
อาจิกขะติ เทเสติ
ย่อมบอก, ย่อมแสดง
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ
ย่อมบัญญัติ, ย่อมตั้งขึ้นไว้
วิวะระติ วิภะชะติ
ย่อมเปิดเผย, ย่อมจำแนกแจกแจง
อุตตานีกะโรติ
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ปัสสะถาติ จาหะ, อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมมี
อิติโข ภิกขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้ แล
ยาตัตระ ตะถะตา
ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น, อันเป็นตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น
อะวิตะถะตา
เป็นอวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อะนัญญะถะตา
เป็นอนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทัปปัจจะยะตา
เป็นอิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้, เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท, (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ, อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
อิติ
ดังนี้แล
ผู้เอาตัวรอดได้เพราะสังวรด้วยความรู้
การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย